![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/DA7E8412-D8A0-4F45-BC65-0414BBD2859D-1024x461.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/631AE012-CCA2-4564-997A-1338EADC2439-1024x768.jpeg)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัย แก่ นักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อการผลิตนวัตกรรมใหม่ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก สำหรับการผลิตข้าวกล้องฮางงอกคุณภาพดี ช่วยอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิต
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/02B40B85-6A22-4518-B0A2-B3F0DE5A94B0-768x1024.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/F1D24461-1BEF-4C67-865A-12CFA9D1213A-1024x768.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/D0337D2A-4E02-453F-A3C1-D1435BCD52AB-461x1024.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/42E3FAB7-7927-4262-BB35-5AEB8C107229-1024x461.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/5FCBABCA-A3D6-4071-BA9E-9E942EFCBB21-461x1024.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/6B457143-F02C-4BDC-B483-1890B6482D87-1024x461.jpeg)
เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก ใช้วิธีการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกในถังเดียวกันโดยใช้ระบบน้ำแบบหมุนเวียน ฉีดสเปรย์น้ำให้ไหลผ่านลงบนเมล็ดข้าวประมาณ 20-30 นาที และหยุดพักประมาณ 60-90 นาที โดยก้นถังออกแบบให้ปริมาณการไหลเวียนและระยะตกลงถังพักที่เหมาะสมจึงทำให้เกิดปริมาณก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้นในขั้นตอนนี้ได้ การหยุดพักและการฉีดสเปรย์น้ำหมุนเวียนเป็นวัฏจักรคาบเวลาเป็นการทำให้เกิดอุณหภูมิภายในถังเพาะงอกที่เหมาะสมต่อการงอกเมล็ดข้าว ซึ่งพบว่าเกิดการงอกในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงช่วยย่นระยะเวลาการผลิตให้สั้นลง และได้ผลผลิตคุณภาพดียิ่งขึ้น มีกลิ่มหอม เนื้อสัมผัสดี ตอบโจทย์การผลิตในจำนวนมาก แต่ลดต้นทุนด้านการผลิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังปรากฏ สารกาบาในข้าวฮางงอกจากการใช้นวัตกรรม มากถึง 2977 mg/100 g เพิ่มขึ้นจากวิธีการดั้งเดิม 300 เท่า
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/7BB2E806-92DC-423D-B8AA-B49EB6535A76-1024x576.jpeg)
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/38400634-2EAF-4223-BD3E-7179ADE0BFF3-1024x576.jpeg)
รศ. ดร.สุพรรณ ยั่งยืน เปิดเผยว่า การพัฒนานวัตกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาใช้ จากเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาและกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนนวัตกรรมสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรยุคเก่าและยุคใหม่ในการตัดสินใจแปรรูปผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถออกแบบให้มีความยืดหยุ่น สำหรับการนำไปใช้ในลักษณะพื้นที่ต่าง ๆ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มสนับสนุนของจังหวัดต่าง ๆ ดังเช่น ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการยอมรับและสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าว ไปใช้ต่อยอดในการผลิตข้าวฮางงอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
![](https://www.thaikufanews.com/wp-content/uploads/2021/05/42C808CE-75AD-45B2-BFD9-D2863DF9F731-1024x768.jpeg)