
นายสุชาติ สุกิจปาณีนิจ ประธานมูลนิธิสว่างเมธีธรรมสถานและคณะกรรมการมูลนิธิสว่างเมธีธรรมสถาน
นายเล็ก แซ่เฮง ประธานกู้ภัยสว่างเมธีธรรมสถาน
ดร.จิระ อรุโณทัยจิตร
กรรมธิการ smart city ของสภากรุงเทพมหานคร
นายปรีชา วัชระนัย เลขาประจำกรรมาธิการทหาร

นายอำนวย ศรีตระกูลทรัพย์ ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต
นายสุรเดช ฤกษ์งาม สำนักข่าว TRVB.TV
วีรศักดิ์ หิรัญประเสริฐวุฒิ พรลภัค กัดเกื้อ
นางลัลน์ลลิตฤดี วิเศษศิริ นายกสมาคมสมาพันธ์นักข่าว(ประเทศไทย)ตลอดจนประชาชนทั่วไปลงพื้นที่แจกอาหาร น้ำ ข้าวกล่อง ที่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง ปรากฎว่ามีคนเร่ร่อนที่พำนักอยู่ย่านดังกล่าวร่วม 100 คน ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ก.ย. 2562) มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะหรือคนไร้ที่พึ่งที่อยู่ในที่สาธารณะของกรุงเทพฯ 4,392 คน เพิ่มขึ้น 363 คน หรือร้อยละ 10 จากปี 2561 ซึ่งตัวเลขดังกล่าว แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่บ่งชี้ว่า ขณะเดียวกันภาวะเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับคนไร้ที่พึ่งมากขึ้นตามไปด้วย


ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดระเบียบเมือง ทำให้คนไร้ที่พึ่งจากที่เคยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มต้องกระจายตัวไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนก้าวกระโดด เเละยังมีที่สถานีรถไฟบางซื่อ สวนสาธารณะ ขณะที่สถานที่ดังกล่าวกำลังจะจัดระเบียบห้ามเข้ามาพักอาศัยด้วย ทำให้คนไร้ที่พึ่งต้องเร่ร่อนไปยังพื้นที่อื่น ปัญหาจึงไม่จบสิ้น
การแบ่งปันของเราเป็นประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์ ทุกวันนี้คนไทยทำบุญกันที่วัด หรือตามสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ เยอะแล้ว อยากให้ลองมาช่วยเหลือคนไร้ที่พักพิงบ้าง เพราะยังมีคนรอความช่วยเหลืออีกมาก
คนไร้บ้านเหล่านั้นไม่ได้เป็น Homeless แต่เป็น Houseless เพราะคนไร้บ้านส่วนมากเป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานหาเงินในกรุงเทพมหานคร หลายคนมีบ้าน มีครอบครัวให้กลับไปหาในต่างจังหวัด แต่เขาเลือกที่จะไม่กลับไป เพราะยังไม่พร้อม
และอาจจะ



รู้สึกไม่สบายใจ เพราะพ่อแม่บางคนคาดหวังว่า เมื่อลูกเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครแล้วต้องได้ดิบได้ดี บางคนหากกลับไปแล้วกลัวพ่อแม่เสียหน้า ก็เลือกเป็น “คนไร้บ้าน” ดีกว่ากลับไปแล้วถูกชาวบ้านดูถูกดูแคลน หรือบางคนก็ไม่มีความสุขที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัว รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากคนไร้บ้านในประเทศอื่นๆ เช่น อเมริกา ที่เป็นคนไร้บ้านจริงๆ คือ ไม่มีบ้าน ไม่มีครอบครัวให้กลับไปอยู่ด้วย